โรงเรียนวัดงิ้วราย(พินพิทยาคาร) ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งโดยนายพิณเทพเฉลิม(พิน บุนนาค) (พระราชทินนามที่ได้รับในสมัยรัชกาลที่ 6) ผู้จัดการบริษัท สุพรรณขนส่ง จำกัด ดำเนินการปลูกสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2448 และยังเป็นผู้บริจาคเงินอุปถัมภ์โรงเรียนเป็นรายเดือน ๆ ละ 15 บาท ต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2473 จึงหยุดบริจาคเงินอุปถัมภ์ เนื่ิองจาก บริษัท สุพรรณขนส่ง จำกัด ได้เปลี่ยนผู้บริหารบริษัท เดิมโรงเรียนตั้งอยู่ข้างศาลาการเปรียญวัดงิ้วราย มีนายทองอิน เป็นครูใหญ่คนแรก
พ.ศ. 2465 นายดาบฮก ยงเจริญ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ต่อจากนายทองอิน
นายพิณเทพเฉลิม (พิน บุนนาค) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวัดงิ้วราย
ต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2465 กระทรวงศึกษาธิการได้ขึ้นทะเบียนโรงเรียนวัดงิ้วราย(พินพิทยาคาร) เป็นโรงเรียนประชาบาล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเภทนายอำเภอจัดตั้ง มีชื่อว่า "โรงเรียนวัดงิ้วราย(พินพิทยาคาร)"
พ.ศ. 2483 นายบุญลือ ยันตรีสิงห์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ต่อจากนายดาบฮก ยงเจริญ ในปีเดียวกันนายเขียน พันธุ์เดิมวงษ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ต่อจากนายบุญลือ ยันตรีสิงห์
พ.ศ. 2483 อาคารเรียนที่นายพิณเทพเฉลิม(พิน บุนนาค) สร้างไว้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก นายเขียน พันธุ์เดิมวงษ์ ครูใหญ่คนที่ 4 จึงได้ขออนุญาตรื้ออาคารหลังเดิมและสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นบริเวณหน้าอุโบสถวัดงิ้วราย เป็นอาคาร แบบ ป 2 ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 27 เมตร โดยใช้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับเงินสมทบจากประชาชน รวมเป็นเงินค่าก่อสร้าง 4,850 บาท เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4
พ.ศ. 2485 นายประสิทธิ์ กุหลาบแก้ว มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ท่านพระครูปุริมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย ร่วมกับนายวุ่น ทองสิมา นายเจ็ง มฤคพิทักษ์ กรรมการศึกษา และนายประสิทธิ์ กุหลาบแก้ว อาจารย์ใหญ่ได้เสนอเรื่องเพื่อขออนุญาตกับกรมสามัญศึกษา เพื่อขยายการเรียนการสอนจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
พ.ศ. 2510 อาคารเรียนแบบ ป 2 ขนาด 2 ชั้น หลังเดิมชำรุดทรุดโทรมลงมาก เพราะปลวกกินเนื้อไม้ เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อนักเรียน จึงย้ายไปใช้ศาลาการเปรียญเป็นอาคารเรียนชั่วคราว และได้ขออนุญาตจากทางราชการรืออาคารเรียนแบบ ป 2 ขนาด 2 ชั้น และสร้างอาคารหลังใหม่ เป็นอาคารแบบ 008 เพิ่มขึ้นต่อจากอาคารเรียนที่สร้างในปี พ.ศ. 2509
พ.ศ. 2511 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด 120,000 บาท ร่วมกับเงินสมทบจากประชาชน 40,000 บาท รวมเป็นเงิน 160,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่ม 4 ห้องเรียน
พ.ศ. 2512 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด 50,000 บาท ร่วมกับเงินสมทบจากประชาชน 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 80,000 บาท เพื่อต่อเติมอาคารเรียนเพิ่ม 2 ห้องเรียน และได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดก่อสร้างบ้านพักครู แบบกรมสามัญศึกษา ขนาด 2 ห้องนอน ใต้ถุนโปร่ง จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด 110,000 บาท เพื่อต่อเติมอาคารเรียนเพิ่ม 3 ห้องเรียน เพื่อให้อาคารเรียนครบตามแบบแปลน
พ.ศ. 2522 นางนีรชา กล่อมทองอยู่ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้โอนกลับมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2526 นางลมุล สังขรักษา มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2528 พันเอกปรีชา โรจนเสน ใช้เงินงบประมาณที่ได้จากการจัดทอดกฐินสามัคคีที่ท่านเจ้าอาวาสเมตตามอบให้ จำนวน 300,000 บาท เพื่อสร้างรั้วโรงเรียน
พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) จำนวนเงิน 40,000 บาท ก่อสร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง ขนาด 4 ที่นั่ง และได้รับงบประมาณจำนวนเงิน 15,000 บาท เพื่อสร้างเรือนเพาะชำ แบบ พ. 1 จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) จำนวนเงิน 43,000 บาท ก่อสร้างถังซีเมนต์เก็บน้ำ แบบ ฝ. 33 จำนวน 1 ชุด ขนาด 3 ถัง และได้งบจำนวนเงิน 70,000 บาท สร้างสนามวอลเล่ย์บอล จำนวน 1 สนาม ในปีนี้ นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ส.ส.ก.ท.ม.)ได้จัดสรรงบพัฒนาจังหวัด เป็นเงิน 200,000 บาท เพื่อก่อสร้า่งสนามเด็กเล่น จำนวน 1 สนาม และโรงจอดรถจักรยาน จำนวน 1 หลัง
วันที่ 21 มิถุนายน 2532 นายณัฐพล พุ่มดียิ่ง มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทนนางลมุล สังขรักษา อาจารย์ใหญ่ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดท่าตำหนัก
พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณจำนวนเงิน 372,400 บาท เพื่อซ่อมแซมอาคารเรียนแบบ 008 หลังที่ 1
วันที่ 24 สิงหาคม 2537 โรงเรียนงิ้วราย(พินพิทยาคาร) ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา ขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา 2536 เข้ารับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2537 นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ส.ส.ก.ท.ม.)ได้จัดสรรงบพัฒนาจังหวัด เป็นเงิน 607,000 บาท เพื่อก่อสร้างป้ายโรงเรียนวัดงิ้วรายโดยใช้หินอ่อน เป็นเงิน 100,00 บาท และจัดซื้อรถโดยสารขนาด 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน เป็นเงิน 507,000 บาท
ในปีนี้ (พ.ศ. 2537) นายชาญชัย ปทุมารักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม (ส.ส.นครปฐม)ได้จัดสรรงบพัฒนาจังหวัด เป็นเงิน 100,000 บาท เพื่อก่อสร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง ขนาด 6 ที่นั่ง
พ.ศง 2545 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวนเงิน 100,000 บาท จัดซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 5 ชุด
พ.ศ. 2546 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม (อบจ.นครปฐม) จำนวนเงิน 50,000 บาท จัดซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 3 ชุด
พ.ศ. 2547 นายบุญสม รักบ่อพลับ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทนนายณัฐพล พุ่มดียิ่ง ที่ลาออกจากราชการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง(เออรี่รีไทร์) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547
พ.ศ. 2548 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย (อบต.งิ้วราย) จำนวนเงิน 740,000 บาท เพื่อจัดซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 100,000 บาท และก่อสร้่างโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 640,000 บาท
วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 ได้รับการสนับสนุนอาคารศูนย์การเรียนรู้ปฐมวัย จากกองทุนศิริจิตอนุสรณ์ โดยคุณวลัยวรรณ ศรีเฟื่องฟุ้ง คุณตระกูล จิณุณารักษ์ และคณะ มูลค่า 754,200 บาท
พ.ศ. 2554 นายสกนธ์ วงศ์สุกฤต ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
พ.ศ. 2555 ได้รับเงินบริจาคสมทบ "กองทุนสิริจิต" โดยคุณตระกูล จิณุณารักษ์ สร้างศาลาสิริจิต 1 และศาลาสิริจิต 2 บริเวณด้านหน้าอาคารไม้ แบบ 008 และได้รับเงินพระราชทานจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์สร้างเสาธง และสายออกธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนงบจัดทำเครื่องกรองน้ำและตู้น้ำเย็นมูลค่า 140,000 บาท
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2559 นายบุญเลิศ พูลสุโข ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนในตำแน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดงิ้วราย
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นางอัปสร นามแสงผา ครูวิทยฐานะการพิเศษ รักษาราชการแทนในตำแน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดงิ้วราย
เดือนพฤษภาคม 2559 บริษัท จุฬาวิศวกรรม โดยคุณชยพล กนกพฤกษ์และคณะสนับสนุนงบปูพื้นหินอ่อนอาคาร 3 (อาคารแบบ สปช. 109/25) จำนวน 304,500 บาท เดือนสิงหาคม 2559 สำนักประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย และกลุ่มบริษัท ดาว (ประเทศไทย) ปรับปรุงถังน้ำฝนเป็นห้องสมุดปฐมวัย พร้อมมอบสื่อพัฒนาการเด็กให้กับทางโรงเรียน
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นายธนสาร บัลลังก์ปัทมา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
เดือนเมษายน 2560 บริษัท จุฬาวิศวกรรม โดยคุณชยพล กนกพฤกษ์สนับสนุนงบปรับปรุงฝ้าเพดานหลังคาอาคารศูนย์ปฐมวัย มูลค่า 30,000 บาท และสนับสนุนงบปรับปรุงเทขั้นบันไดด้านหน้าโดมอเนกประสงค์ มูลค่า 50,000 บาท
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 นายธนสาร บัลลังก์ปัทมา ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดตุ๊กตา
ปัจจุบันโรงเรียนจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 185 คน ครู 11 คน นักการภารโรง 1 คน เจ้าห้นที่ธุรการ 1 คน
ห้องน้ำยกพื้นสูง สามารถใช้ได้เมื่อน้ำท่วม